วัดกลางบางแก้ว
อะ สัง วิ สุโล ปุ สะ พุภะ พุทธะ สังมิ อิสวา สุ
ข่าวสารทั่วไป
นักธรรมตรี ปี ๒๕๕๒
การศึกษาพระปริยัติธรรม หรือที่เรียกกันว่า "นักธรรม" เกิดขึ้นตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส...
อ่านต่อ
พิธีทอดกฐิน
กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้...
อ่านต่อ
โปรแกรมท่องเทียวนครปฐม
เมืองนครปฐมเดิมตั้งอยู่ริมทะเลเคยเป็นเมืองเก่าแห่งหนึ่ง ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยทวาราวดีเพราะเป็นราชธานีที่สำคัญ มีหลักฐานเชื่อว่าศาสนาพุทธและอารยธรรมจากประเทศอินเดียเผยแพร่เข้ามาที่...
อ่านต่อ
การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก จัดแสดงเรื่องราวโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ดังนี้
ชั้นล่าง
ส่วนพระ พุทธวิถีนายกจัดแสดงประวัติพระเครื่อง และข้าวของเครื่องใช้ของหลวงปู่บุญ ( พระพุทธวิถีนายก – บุญ ขันธโชติ ) และหลวงปู่เพิ่ม ( พระพุทธวิถีนายก – เพิ่ม ปุญญวสโน ) โดยทางซีกตะวันออก ( ซ้ายมือ ) จัดแสดงพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคลและพระบูชาของหลวงปู่ ซึ่งมีอายุการสร้างเกือบร้อยปีแล้ว  อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของตัวยาไทย สมุนไพร ยารักษาโรค  และเครื่องมือช่างสารพัดรูปแบบในฐานะที่หลวงปู่เป็นนักพัฒนา ก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดมาโดยตลอด กับเอกสารที่เป็นการปฏิบัติงานในหน้าที่คณะสงฆ์ และบันทึกหรือจดหมายติดต่อกับบรรดาผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ปฏิทินโหราศาสตร์แต่ละปีที่หลวงปู่คำนวณและเขียนขึ้นด้วยลายมือ รูปปั้นของหลวงปู่บุญและรูปถ่ายของหลวงปู่ทั้งสองติดเรียงรายไว้ตามฝาผนังส่วนคัมภีร์และสมุดข่อย

จัดแสดงในห้อง กระจกซีกตะวันตก ( ขวามือ ) มีคัมภีร์ใบลาน เนื้อหาเป็นพระธรรม หนังสือเทศน์และเรื่องราวที่เป็นความรู้ต่าง ๆ จารตัวอักษรขอมเป็นส่วนใหญ่ และจารในใบลานขนาดยาวสั้นต่าง ๆ กัน ห่อในผ้าห่อคัมภีร์เก่า บรรจุในกลักไม้และในหีบพระธรรม ส่วนสมุดข่อยมี ทั้งสมุดขาวและสมุดดำ ขนาดใหญ่และเล็กต่าง ๆ กัน มีทั้งอักษรไทยและอักษรของ มีชนิดที่มีภาพสวยงาม คือสมุดภาพพระมาลัยและสมุดภาพพุทธประวัติ นอกจากนี้มีเนื้อหาเป็นพระราชพงศาวดาร ตำราพิชัยสงคราม วรรณคดี หนังสือเรียน ตำรายาไทย และการรักษาโรค ตำราโหราศาสตร์ เลขยันต์และคาถาอาคมต่าง ๆ มีทั้งในลักษณะของสมุดที่เป็นตำราและสมุดที่แสดงให้เห็นว่า  ใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ในห้องนี้ยังมีตู้พระธรรม หีบพระอภิธรรมลายรดน้ำและพานแว่นฟ้าซึ่งเกี่ยวข้องกัน จัดรวมไว้ด้วย
หลวงปู่เจือ มรณะภาพแล้ว
ณ วัน อังคาร ที่ ๒๙ เดือน ธันวาคม ๒๕๕๒เวลา ๑๑.๑๔ น. ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธมรณะภาพ อายุรวม ๘๔ ปี พรรษาที่   ๕๘
อ่านต่อ
ชั้นที่สอง
จัดแสดงของใช้ประเภทต่าง ๆ เครื่องเบญจรงค์ เครื่องลายคราม  ถ้วยชามของใช้ ปั้นชา แก้วเจียระไน เครื่องทองเหลือง เครื่องเขิน เครื่อง ไม้ ถาดเคลือบ และห้องมุก  ซึ่งมีธรรมาสน์มุกของหลวงปู่บุญ  ซึ่งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 สร้างถวาย โดยมีสัญลักษณ์รูปพระอาทิตย์ฯ และตัวอักษรจีนอยู่พนักธรรมาสน์
ชั้นที่สาม
จัดแสดงพระบุเงินและพระบูชาไม้แกะ พระเนื้อทองเหลืองทรงเครื่องและพระมาลัยโปรดสัตว์นรก ในห้องซีกตะวันตก  ซึ่งมีธรรมาสน์บุษบก ไม้แกะปิดทองของเก่าคู่กับวัดตั้งเป็นประธานในด้านนี้ ส่วนซีกตะวันออกจัดแสดงพระบูชาขนาดใหญ่  มีทั้งที่เป็นของเก่าและที่พุทธบริษัทสร้างถวายในสมัยหลวงปู่บุญ ตรงส่วนกลางของชั้นสาม คือกุฏิเก่าของหลวงปู่ ส่วนประกอบที่เนื้อไม้ยังพอใช้ได้ โดยเฉพาะบรรดาฝาปกนต่าง ๆ  และลายฉลุช่องลมกับประตูหน้าต่าง ได้นำมาประกอบเป็นกุฏิของท่านในลักษณะเดิม เพื่อประดิษฐานรูปหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่  ประกอบกับข้าวของเครื่องใช้ของท่านเหมือนกับสมัยเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ พระพุทธรูปขนาดใหญ่ตรงกลางภายในกุฏิ  คือพระสัมพุทธมหามุนี พุทธวิถีนายก ปุญญวสนนิมมิตสมัยเชียงแสน ซึ่งหลวงปู่เพิ่มได้พระเศียรมาจากเมืองเชียงแสน แล้วได้สร้างซ่อมแซมจนเป็นองค์ที่สมบูรณ์
กว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก
เมื่อครั้งเป็นเด็ก ผู้เขียน ( นายสุธน ศรีหิรัญ ) ได้เรียนหนังสือชั้นประถมที่โรงเรียนพุทธวิถีประสิทธิ์ ซึ่งหลวงปู่บุญฯ เป็นผู้ตั้งขึ้น เรียนจนถึงชั้นมัธยมที่โรงเรียนเพิ่มวิทยา ซึ่ง หลวงปู่เพิ่ม เป็นผู้ตั้งขึ้น โรงเรียนทั้งสองแห่งนี้อยู่ในวัดกลางบางแก้ว สมัยนั้นร่มครึ้มด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยเขียวขจี ริมแม่น้ำนครชัยศรีก็ดูร่มรื่นเย็นสบาย สงบและน่าอภิรมย์ยิ่งนัก ตรงหน้าพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก ( ปัจจุบันนี้ ) มีคลองเจาะจากแม่น้ำเข้ามาถึงหอไตรทำเป็นที่จอดเรือ ซึ่งกุฏิของหลวงปู่บุญอยู่บริเวณพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน หลวงปู่จึงลงเรือไปไหนมาไหนตรงหน้ากุฏิของท่าน ถัดขึ้นไปเป็นสะพานข้างต้นตะเคียนเชื่อมต่อกับหอระฆังเป็นเส้นทางเดินไปสู่ โบสถ์ตรงที่ตั้งอนุสาวรีย์ หลวงปู่บุญปัจจุบันนี้เดิมเป็นกุฏิ ตึกมีต้นสมอพิเภกใหญ่อยู่ข้างกุฏิ บริเวณนี้คือสถานที่เผาพระเนื้อดินของหลวงปู่บุญ สมัยเป็นเด็กผู้เขียนวิ่งเล่นอยู่บริเวณนี้เป็นประจำสนุกสนาน และเป็นสุขอย่างยิ่ง
วัดกลางบางแก้ว
ครั้นพอเติบใหญ่ได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2516 ณ วัดกลางบางแก้ว โดยมีพระพุทธวิถีนายก ( เพิ่ม ปุญญวสโน ) หรือ “ หลวงปู่เพิ่ม ” เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านตั้งฉายาให้ผู้เขียนว่า  “ ปสโฐ ” ได้อยู่ใกล้ชิดปฏิบัติรับใช้ท่านพอสมควร  ระหว่างนี้เองที่ผู้เขียนได้สังเกตเห็นถาวรวัตถุในวัดกลางบางแก้ว ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เมื่อสมัยหลวงปู่บุญท่านมีบารมีมาก ก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ไว้มากมาย ล้วนใหญ่โต ครั้นพอสิ้นท่าน กาลเวลาได้ทำลายถาวรวัตถุเหล่านั้นนับตั้งแต่ศาลาการเปรียญหลังใหญ่ โบสถ์ มณฑป ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท วิหาร กุฏิต่าง ๆ ผู้เขียนอาศัยอยู่กุฏิพระปลัดใบ คุณวีโรซึ่งเป็นพระพัฒนา จึงได้ชวนกันซ่อมศาลาการเปรียญเป็นงานแรก ขณะนั้นศาลาการเปรียญพื้นชำรุดมากญาติโยมทำบุญต้องระมัดระวังการเดิน อาจตกร่องได้ ผู้เขียนชวนพระปลัดใบ คุณวีโร ไปซื้อไม้แดงจากโรงเลื่อยแถวดาวคะนองมาจำนวนหนึ่ง เพื่อซ่อมพื้นศาลา  แต่เงินไม่พอ เจ้าของโรงเลื่อยใจดียอมให้เอาไม้ไปก่อน มีเมื่อไรค่อยเอาไปให้ก็ได้ จึงได้นำไม้มาซ่อมพื้นศาลาจนสำเร็จลุล่วงไป หลวงปู่เพิ่มได้สอบถามผู้เขียนและพระปลัดใบว่า สิ้นค่าใช้จ่ายในการซ่อมไปเท่าไร และเงินมีพอไหม เมื่อพระปลัดใบบอกว่าไปเชื่อค่าไม้เขามาบางส่วน ดูเหมือนหลวงปู่เพิ่มจะร้อนใจ ท่านหายเข้าไปในห้องข้างหลังแล้วออกมาพร้อมกับพานห่อผ้าขาวส่งให้พระปลัดใบ แล้วบอกว่า ให้คนทำบุญพื้นศาลาจะได้ไต้องเป็นหนี้เขา ผู้เขียนและพระปลัดใบเดินลงจากกุฏิหลวงปู่ กลับมากุฏิพระปลัดใบเปิดห่อผ้าขาวในพานดูปรากฏว่ พอดึงผ้าออกดูข้างในเป็นเหรียญเจ้าสัว “ เนื้อเงิน ” และ “ ทองแดง ” คลุกผสมกันอยู่ จึงแยกเหรียญเงินออกพวกหนึ่ง  ทองแดงพวกหนึ่ง แต่จำตัวเลขจำนวนเหรียญเงินและทองแดงไม่ได้แน่ว่าเท่าใด  เนื้อเงินประมาณ 300 กว่าเหรียญ ส่วนทองแดงประมาณ  500 กว่าเหรียญเห็นจะได้ จึงนำเหรียญเจ้าสัวเงินให้คนทำบุญ 200 บาท ทองแดงมอบให้คนทำบุญ 100 บาท ใช้เวลานานหลายเดือนจึงได้เงินครบและอีกหลายเดือนเหรียญจึงหมด

เมื่อเหรียญเจ้าสัวหมดนั้น  มีเงินเหลือจากการใช้หนี้นับหมื่นบาท พระปลัดใบจึงคิดการซ่อมโบสถ์และมณฑปต่อไปประกอบกับมีพระเครื่องเนื้อดิน และเนื้อผงแตกกรุออกมาจากมณฑปด้วย จึงออกให้คนทำบุญองค์ละ 30 บาทบ้าง 50 บาทบ้างได้เงินมาก็ซ่อมสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวต่อไป ระยะนี้ผู้เขียนได้เห็นสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งเป็นสมบัติของวัดซึ่งมีมากมายเริ่มสูญหายไปเพราะถูกขโมยบ้าง ฉกฉวยไปบ้าง พระพุทธรูปในวิหารก็โดนขโมยไปหลายครั้งหลายหน  ถ้วยโถโอชาสวย ๆ งาม ๆสมัยหลวงปู่บุญก็แตกหักเสียหาย สิ่งดี ๆ ใกล้มือคนโลภมากก็หยิบฉวยเอาไป  ในใจจึงนึกว่าวัดกลางบางแก้วน่าจะมี “ พิพิธภัณฑ์ ”เพื่ออนุรักษ์สิ่งของเหล่านี้ไว้ เพื่อเป็นการป้องกันการสูญหาย แต่ขณะนั้นก็ได้แต่คิด  เพราะความจำเป็นในการใช้เงินเพื่อบูรณะสิ่งของต่าง ๆ มีมากกว่าจึงไม่ได้เอาความคิดนี้ไปปรึกษาหรือบอกใคร เก็บเอาไว้ในใจอยู่อย่างนั้น  ขณะเดียวกันก็นึกว่าหลวงปู่บุญหลวงปู่ เพิ่มเป็นเถระที่ประเสริฐเช่นนี้ ทำไมคนจึงมาทำบุญน้อยรู้จักน้อย อาศัยที่ได้เรียนวิชาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มา  จึงเอาความรู้ที่มีมาใช้ในการเขียน  การประชาสัมพันธ์คุณงามความดีของพระเถระทั้งสององค์นี้ติดต่อกันเรื่อย มาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2517 จนถึงปัจจุบันนี้ นานนับ 20 ปี พอจะทำให้ชื่อเสียงกิตติคุณของหลวงปู่ทั้งสองและวัดกลางบางแก้วได้ขจร ขจายเป็นที่รู้จักเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนได้กว้างขวางมากขึ้นนับแต่ เริ่มประชาสัมพันธ์ ก็เริ่มมีคนเข้ามาช่วยเหลือทำบุญในวัดกลางบางแก้วมากขึ้น อาศัยพระเครื่องของหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่มที่ท่านได้สร้างเอาไว้จำนวน มากเป็นสิ่งสนับสนุนเพิ่มพูน จึงทำให้มีกำลังในการพัฒนาและบูรณะ ถาวรวัตถุต่าง ๆได้สำเร็จด้วยดีตลอดมาจนกระทั่งพระครูสิริชัยคณา รักษ์ ( สนั่น  จิรวังโส เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรีมาเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วได้เป็นกำลังสำคัญใน การพัฒนาวัดจนรุ่งเรืองมากขึ้น ขณะนั้นผู้เขียนและผู้ไม่ประสงค์ออกนามเป็นพระสงฆ์หนึ่งท่าน ฆราวาสหนึ่งท่านได้ร่วมกันคิดจะสร้าง “ พิพิธภัณฑ์  ” ขึ้นเพราะการบูรณะถาวรวัตถุต่าง ๆ เริ่มเป็นผลสำเร็จเกือบหมดแล้วและมีเงินเหลืออยู่ส่วนหนึ่ง

แต่การสร้างพิพิธภัณฑ์นั้นเป็นงานใหญ่ นอกจากงบประมาณในด้านค่าก่อสร้างอาคารแล้ว การรวบรวมวัตถุต่าง ๆ ภายในวัดก็เป็นเรื่องยากลำบาก จำต้องอาศัยกำลังสนับสนุนจากหลายฝ่าย เมื่อหารือกันเองแล้ว จึงได้นำความคิดไปหารือกับท่านพระครูสิริชัยคณา รักษ์ ( สนั่น ) ท่านเจ้าอาวาส ท่านก็เห็นดีด้วย เพราะท่านก็คิดเรื่องนี้อยู่เช่นกัน งานพิพิธภัณฑ์จึงได้เริ่มขึ้น ครั้งแรกท่านเจ้าอาวาสได้ดำเนินการหาแบบแปลนที่เหมาะสมและกำหนดสถานที่ ณ บริเวณกุฏิเก่าของหลวงปู่ เนื่องจากกุฏิชำรุดมากเกินจะซ่อมแซมได้ แต่จะนำเอาบางส่วนของกุฏิอนุรักษ์ไว้ในพิพิธภัณฑ์ให้คงทนถาวรสืบไป จึงมีปัญหาว่าหากจะรื้อกุฏิเก่า จะเหมาะสมแค่ไหน เรื่องนี้ได้นำไปหารือกับอาจารย์เปล่ง ชื่นกลิ่นธูป ( ท่านเป็นศิษย์ใกล้ชิดกับหลวงปู่บุญ )อาจารย์เปล่งเมื่อทราบความคิดของคณะผู้ก่อสร้างแล้วก็เห็นดีด้วย  สนับสนุนเต็มที่ ถึงขั้นมาทำพิธีรื้อถอนให้ด้วยตนเองและทำพิธีวาง ศิลาฤกษ์ให้ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 253 ถึงตอนนี้ต้องอาศัยความกล้าหาญของ ท่านเจ้าอาวาส  พระครูสิริชัยคณารักษ์ ที่กล้าตัดสินใจเผชิญกับคำคัดค้านไม่เห็นด้วยจากบุคคลหลายฝ่าย ผู้เขียนจำคำกล่าวของอาจารย์ เปล่ง ชื่นกลิ่นธูป ได้ ท่านกล่าวว่า “ ทำดีไม่ต้องกลัวใคร ” ด้วยคำพูดนี้เองเป็นกำลังใจสำคัญที่ผู้เขียนและคณะถือเป็นธงชัยรุกคืบ การทำงานพิพิธภัณฑ์ไปข้างหน้าแบบไม่ท้อถอย านก่อสร้างจึงเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 จนเงินทุนที่มีอยู่หมดครงสร้างค้างชะงัก เสียงวิพากษ์วิจารณ์ เริ่มเซ็งแซ่ทำท่าจะไม่เสร็จ คณะของเราเริ่มหวั่นไหว เพราะกระแสการเงินไม่ดีมงคลวัตถุของเก่าของหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่มที่เอามาให้คนทำบุญสร้างพิพิธภัณฑ์ เริ่มมีคนพูดตำหนิติเตียนว่า “ อาศัยเอาของเก่ามาขาย ” และเมื่อได้พิจารณาแล้วว่าของที่เหลืออยู่หากให้คนทำบุญจนหมดแล้ว ถ้าพิพิธภัณฑ์ยังไม่เสร็จอีกจะทำอย่างไร พราะการสร้างพิพิธภัณฑ์ครั้งนี้เป็นงานใหญ่เหลือเกิน ขณะนั้นอยู่ในช่วง ปูนขาดแคลน วัสดุก่อสร้างราคาสูงมาก ผู้เขียนวิ่งเต้นหาซื้อปูนเต็มกำลัง อาศัยได้คุณวินิจฉัย โขสูงเนิน บริษัทชลประทานซีเมนต์แบ่งปูนมาให้จึง ได้ดำเนินการต่อไปได้ แต่พอเงินหมดงานก็หยุด ส่วนกำลังใจยังมีอยู่มาก พอ จะคิดอ่านแก้ไขกันต่อไป

วันหนึ่ง ผู้เขียนพร้อมด้วยผู้ไม่ประสงค์ออกนามเป็นพระสงฆ์หนึ่งท่านและฆราวาสหนึ่ง ท่าน ละท่านพระครูสิริชัยคณารักษ์ ( สนั่น ) จ้าอาวาส ได้ปรึกษากันในเรื่องการสร้างพิพิธภัณฑ์ ซึ่งประสบปัญหาด้านการเงินและคำติเตียนจากบางคนว่า “ เอาของเก่าของหลวงปู่บุญมาขายสร้างพิพิธภัณฑ์ ” ป็นทำนองว่าอาศัยของเก่าจึงทำได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นยากำลังที่ทำให้เข้มแข็งขึ้น เมื่อได้พิจารณาทบทวนร่วมกันแล้วจึงเห็นพ้องต้องกันว่า นับแต่นี้เป็นต้นไปจะไม่นำเอาวัตถุมงคลของเก่าของหลวงปู่บุญมาให้คนทำ บุญเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์อีกต่อไป แต่จะขอพึ่งบารมีของหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม ทำงานพิพิธภัณฑ์ให้เสร็จเรียบร้อยให้จงได้ ความคิดอันเป็นมติร่วมกันดังกล่าวนั้น เหมือนกับตัดทางหาทุนเช่นเดิมหมดสิ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงได้คิดการสร้างมงคลวัตถุของใหม่ เพื่อหาทุนสร้างพิพิธภัณฑ์ต่อไป เป็นทำนองว่าต่อไปนี้พวกเราจะไม่อาศัยของเก่าอีกแล้ว จะอาศัยแต่ของใหม่ ของ ที่พวกเราสร้างกันเอง โดยอาศัยบารมีของหลวงปู่ทั้งสอง ของที่เกิดจากสติปัญญากำลังของพวกเรานี่แหละ ถึงจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ ขอบารมีหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม ป็นกำลังใจก็เพียงพอ “ เหรียญเจ้าสัว  ปี พ.ศ.2535 ” จึงกำเนิดขึ้นมงคลวัตถุของใหม่ที่เกิดขึ้นด้วยกำลังใจ บารมีของหลวงปู่และความจำเป็น งานสร้างมงคลวัตถุมงคลเหรียญเจ้าสัว และเหรียญ ร.5 ปี พ.ศ.2535 ลุล่วงไปด้วยดี ได้ผลเกินคาด กินคิด เกิน ความจำเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้วรายได้ที่ได้มานั้นมากกว่าการนำของเก่ามาให้คนทำบุญทั้งหมด ตั้งแต่แรก มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของวัดกลางบางแก้ว และพียงพอที่จะสร้างพิพิธภัณฑ์ให้สำเร็จลุล่วงลงไปอย่างสวยงาม และเหลือ ที่จะปรับปรุงปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดได้ทั้งหมด ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่เกิดจากกำลังสติปัญญากำลังใจของทุกคนที่สนับ สนุนและติเตียน ( ทำให้เกิดพลัง ) พิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายกจึงเกิดขึ้น เพื่อจะอนุรักษ์โบราณวัตถุของวัดกลางบางแก้วให้คงอยู่ต่อไปชั่วกาลนาน พิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก สร้างอาคารเสร็จแล้วในปี พ.ศ.2536 ระยะเวลาที่เหลืออีก 1 ปี คือตลอดปี พ.ศ.2537 นั้น เป็นการจัดของที่จะ วางในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างลำบากและใช้เวลามากตลอดจนต้องใช้ความรู้ความชำนาญ นอก จากผู้เขียนและท่านพระครูสิริชัยคณารักษ์ ท่านเจ้าอาวาส และผู้ไม่ประสงค์ออกนามอีกสองท่านดังกล่าวแล้ว ยังได้ผู้ที่เป็นกำลัง สำคัญอย่างยิ่งคือ รศ. กมล ฉายาวัฒนะ แห่งคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชล  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาช่วยดำเนินการให้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการวางรูปแบบและการจัดของก็ตาม และนับว่าท่านมีส่วนสำคัญในการจัดได้ดีและเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายณัฏฐ์ ศรีวิหค พร้อมด้วยคณะทำงานของวัดและพระภิกษุสามเณร ตลอดจนบุคคลต่าง ๆ ที่ไม่อาจกล่าวนามได้หมด อีกจำนวนมากที่สนับสนุนทั้งกำลังแรงกายและแรงใจ จน งานพิพิธภัณฑ์สำเร็จลุล่วงสมบูรณ์ดังปรากฏแก่สายตาทุกท่านอยู่ในขณะนี้แล้ว ความอัศจรรย์ของเรื่องราว ตั้งแต่แรกจนถึงการสร้างพิพิธภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์อยู่ตรงที่ “ เหรียญเจ้าสัวรุ่นเก่า ” ดังได้กล่าวมาแล้ว อีก 20  ปีต่อมาพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายกสำเร็จลงได้ก็ด้วย “ เหรียญเจ้าสัว ” เช่นเดียวกันแต่เป็นรุ่นใหม่ 2535 ) ดังนั้น จึงได้นำมงคลสัญลักษณ์ “ เหรียญเจ้าสัว ” อันเป็นเอกลักษณ์มงคลวัตถุมงคลของหลวงปู่บุญ ประดิษฐานไว้บนหน้าบันของพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายกเพื่อแสดง “ เอกลักษณ์แห่งเอกลาภ ความมั่งคั่ง มบูรณ์ และความสำเร็จ ” ให้ลือชาปรากฏแก่มหาชนเป็นนิรันดรสืบไป
วัดกลางบางแก้วตำบลนครชัยศรี
อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม  ริมแม่น้ำท่าจีน
© 2019 Copyrigth. Watkbk.com All rigths reserved.